บ้านไทย-โมเดิร์น
ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร
และถูกจัดการให้อยู่ในภาวะน่าสบายสำหรับภูมิอากาศเขตร้อนชื้น การออกแบบที่ไม่ได้คำนึงถึงความล้าสมัยที่จะเกิดขึ้นในอีก
10 ปีข้างหน้าว่าบ้านหลังนี้อาจจะดู เก่าเกินไป ไม่สวย คิดเพียงแค่หลักปรัชญาที่ออกมาตามวัสดุ
และโครงสร้าง การบอกเล่าถึงอารมณ์ของบ้านผ่านการเดิน
ตามที่เจ้าของบ้านได้เป็นผู้ออกแบบประสบการณ์ ให้แก่ผู้มาเยือน “บ้านตะวันออก”
แห่งนี้.

บ้านไทยที่ไม่ไทย เราไม่ได้เห็นว่าบ้านหลังนี้มี เหงา ปั้นลม แต่กลิ่นอายความเป็นไทยยังคงอบอวลอยู่ภายในบ้านเนื่องจากการถอดเอาความเป็นบ้านเรือนไทยส่วนที่เรารู้สึกได้คือ การยกใต้ถุนสูง เพื่อที่จะป้องกันเรื่องความชื้นและเป็นงานระบบ การใช้โครงสร้างแบบบ้านเรือนไทยแต่เปลี่ยนวัสดุเป็นไม้ เหล็ก ปูน วัสดุธรรมชาติ วัสดุพื้นถิ่น การถอดเอาวิถีบ้านเรือนไทยคือชานสำหรับใช้รับแขก จะสังเกตได้ว่าทุกการเชื่อมต่อของอาคารจะเป็นทางเดินที่มีขนาดใหญ่คล้ายชานเพื่อสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ไม่ใช่เพียงการเดินผ่าน (รู้สึกว่าส่วนนี้ค่อนข้างคล้ายกับอาศรมศิลป์) หรือส่วนที่เป็นเรือนรับแขกที่ภายในมีพื้นที่กว้างแต่ก็ยังมีชานยื่นออกมาด้านข้างด้วย.
บ้านไทยที่ไม่ไทย เราไม่ได้เห็นว่าบ้านหลังนี้มี เหงา ปั้นลม แต่กลิ่นอายความเป็นไทยยังคงอบอวลอยู่ภายในบ้านเนื่องจากการถอดเอาความเป็นบ้านเรือนไทยส่วนที่เรารู้สึกได้คือ การยกใต้ถุนสูง เพื่อที่จะป้องกันเรื่องความชื้นและเป็นงานระบบ การใช้โครงสร้างแบบบ้านเรือนไทยแต่เปลี่ยนวัสดุเป็นไม้ เหล็ก ปูน วัสดุธรรมชาติ วัสดุพื้นถิ่น การถอดเอาวิถีบ้านเรือนไทยคือชานสำหรับใช้รับแขก จะสังเกตได้ว่าทุกการเชื่อมต่อของอาคารจะเป็นทางเดินที่มีขนาดใหญ่คล้ายชานเพื่อสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ไม่ใช่เพียงการเดินผ่าน (รู้สึกว่าส่วนนี้ค่อนข้างคล้ายกับอาศรมศิลป์) หรือส่วนที่เป็นเรือนรับแขกที่ภายในมีพื้นที่กว้างแต่ก็ยังมีชานยื่นออกมาด้านข้างด้วย.
ระหว่างทางเดินขึ้นสามารถมองเห็นพื้นที่ที่เราผ่านมาได้
เกิดความสัมพัมพันธ์ทั้งการมองขึ้นและ
การมองลง
การมองลง
จากที่ดูแล้วบ้านหลังนี้ไม่ใช่
Human
scale คือไม่ใช่สัดส่วนที่เป็นมนุษย์ ตัวบ้านค่อนข้างที่จะกว้างและสูงมาก
ทำให้เรารู้สึกว่าบ้านนี้ไม่ใช้ของเรา แต่เมื่อชั้นสองของบ้าน ชานของชั้นสองที่ยื่นออกมาจนเราสามารถสัมผัสกับหลังคาได้
ทำให้เกิดมิติทางความรู้สึกแบบใหม่ขึ้นมาว่า
เราสามารถสัมผัสกับส่วนที่สูงที่สุดของบ้าน
และได้เห็นภาพรวมของบ้านทั้งหมดจากห้องนอนเป็นส่วนที่สูงพอจะเห็นบ้านทั้งหลังได้ ซึ่งเกิดความรู้สึกว่า ”บ้านนี้เป็นของฉันเพราะ
ฉันจับต้องได้”.
ปฏิสัมพันธ์ของพื้นที่-พื้นที่
มนุษย์-มนุษย์ ธรรมชาติ-สถาปัตยกรรม มนุษย์-ธรรมชาติ
ความสัมพันธ์ของพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่งโดยเชื่อมต่อจากการมองเห็น การที่พุ่มของต้นจามจุรีแตะลงบนหลังคาของเรือนรับแขกทำให้รู้สึกว่าธรรมชาติเป็นสิ่งเดียวกับบ้าน และบ้านก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ความสัมพันธ์ของพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่งโดยเชื่อมต่อจากการมองเห็น การที่พุ่มของต้นจามจุรีแตะลงบนหลังคาของเรือนรับแขกทำให้รู้สึกว่าธรรมชาติเป็นสิ่งเดียวกับบ้าน และบ้านก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
การใช้ circulation
เพื่อให้เกิดประสบการณ์ในการมองที่แตกต่างกันโดยความตั้งใจสถาปนิกที่พาเราเดินไป
ทำให้รู้สึกว่าไม่เบื่อที่จะต้องเดินรอบบ้านหลายๆรอบ กลับรู้สึกว่าได้มาอยู่ในที่ที่อบอุ่น
พอดีกับเรา สบายกาย สบายใจ อยู่แล้วสงบ บ้านที่เล่าความงามด้วยตัวเอง จึงเป็นสาเหตุที่ว่า
How to build ไม่สำคัญเท่ากับ
Why to build จะสร้างบ้านไปทำไมในเมื่ออยู่แล้วไม่สบาย ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น