วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559




Case study: Warren cottage extension and renovation / McGarry-Moon Architects
http://www.archdaily.com/794162/warren-cottage-extension-and-renovation-mcgarry-moon-architects









Case study: Belavali House / Studio Mumbai
http://www.archdaily.com/224819/belavali-house-studio-mumbai?ad_medium=widget&ad_name=recommendation



ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการประเด็นที่ ๑: ประเด็นเรื่องความโปร่ง โล่ง สบาย
          จากบริเวณเดิมที่เป็นร้านขายอาหาร และร้านหนังสือ มีปัญหาเรื่องความทึบความต้องการที่จะใช้แสงธรรมชาติแต่ว่าไม่สอดคล้องต่อสภาพภูมิอากาศเช่น เมื่อถึงฤดูฝน ฝนสาดเข้าร้านจึงต้องใช้ผ้าใบในการกันฝน ร้านหนังสือไม่สามารถที่จะกรองคนเข้า-ออก หรือคนที่เข้ามานั่งในร้านได้เพราะมีฉากกั้นบางส่วนบังสายตา ร้านขายอาหารและร้านหนังสือเล็ก แคบไม่รองรับแก่จำนวนผู้เข้าใช้ เนื่องจากอยู่ใกล้ ดิน ต้นไม้ทำให้มีความทึบและชื้นส่งผลต่อการเก็บรักษาหนังสือ ทางเดินไม่กันฝน ผู้ใช้งานต้องการที่จะทำให้อาคารนี้แสดงลักษณ์ของโรงเรียนรุ่งอรุณที่โปร่ง โล่ง สบาย ไม่เป็นอาคารใหญ่ที่ทึบ บดบังทัศนียภาพที่เป็นคูน้ำและต้นไม้เดิม จาก
case study ที่เลือกมานั้นมีลักษณะทางกายภาพที่ไม่แบ่งแยกภายในภายนอกอย่างชัดเจนมีการรับรู้พื้นที่ภายนอกผ่านประสาทตา แม้ว่าผู้ใช้งานต้องการอาคารที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมถึงสองเท่าเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บสินค้าแต่ไม่ได้ให้ความรู้สึกว่าทึบเพราะมีการมองเห็นทะลุทั้งสองด้าน ไม่บังทัศนียภาพ ห้องภายในสามารถมองเห็นภายนอก และมีบางมุมที่ไม่ได้โปรงใสเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้แก่ผู้ดูแลที่ต้องการความสงบ
          ในแบบที่ ๑
Warren cottage extension and renovation นั้น ตัวอาคารเป็นชั้นเดียว(ในส่วนพื้นที่ที่เลือกมา) ลักษณะภายนอกโปร่งเป็นกระจกเกือบทั้งหมดแต่มีบางพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจึงเป็นผนังทึบเช่น อาจเป็นห้องสำหรับเก็บของ ตัวอาคารมีขนาดเล็กเป็นคล้ายๆกับmodule ทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่ต้องเป็นอาคารใหญ่ที่ติดกับเป็นแถบ เนื่องจากอาคารเป็นกระจกจึงไม่มีปัญหาเรื่องการรับแสง ผนังที่เป็นระแนงไม้ช่วยลดทอดความแข็งของตัวอาคาร อาจจะใช้ไม้เลื้อยเพื่อเป็นการบังตัวอาคาร ทำให้ไม่ต้องปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อบังอาคารจากการมองระยะไกล เพราะการที่ปลูกต้นไม้ใหญ่มากเกินไปทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ไม่สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้ชัดเจนเนื่องจากโดนต้นไม้บังไว้ ทางเดินที่เป็นระแนงไม้นั้นอาจจะไม่สามารถกันฝนได้ดีนักแต่สามารถนำไม้เลื้อยมาประยุกต์ใช้ แทนการที่จะสร้างหลังคาขนาดใหญ่มากันฝนทั้งนี้ยังช่วยในเรื่องความกลมกลืนความเป็นธรรมชาติซึ่งตอบโจทย์กับโรงเรียนรุ่งอรุณว่ามนุษย์ไม่ได้อยู่เหนือธรรมชาติ หลังคากันฝนนี้จึงไม่ได้ออกแบบมาเพื่อกันฝนได้อย่างดีเยี่ยม
          แบบที่ ๒
Belavali House ที่เลือกมานั้นเพราะการใช้materialที่คล้ายคลึงกับโรงเรียนรุ่งอรุณเนื่องจากใช้ไม้เหมือนกัน ตัวกระจกสามารถเปิดได้เป็นบานกระทุ้งจึงไม่มีปัญหาเรื่องการระบายอากาศ พื้นที่ภายในโล่งกว้างทุกจุดสามารถมองเห็นถึงกันทั้งมองจากภายในถึงภายนอกและภายนอกเข้าหาภายใน ทำให้แม้อยู่ภายในตัวอาคารก็รับรู้ได้ถึงอารมณ์ของธรรมชาติด้านนอกได้







Case study: Share house LT Josai / Naruse inokuma Architects

https://www.pinterest.com/425801339746425993/






Case study: Europe experiment with co-housing
https://www.pinterest.com/pin/401453754264043134/


ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการประเด็นที่ ๒: ประเด็นเรื่องพื้นที่ปฏิสัมพันธ์
   พื้นที่ปฏิสัมพันธ์ที่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นจำกัดพื้นที่ใหญ่ๆเช่น ลานกว้าง อาคารรับอรุณ พื้นที่ปฏิสัมพันธ์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่แม้เป็นทางเดินก็ตาม ปัจจุบันการที่ผู้ใช้งานในโรงเรียนรุ่งอรุณพบเจอกันระหว่างทาง เมื่อต้องการสนทนากันต้องหลบไปมุมด้านหนึ่งของตัวถนน หรือต้องเดินเข้าไปในสถานที่ที่เอื้อต่อการปฏิสัมพันธ์ ถ้ามีพื้นที่ที่สามารถเชื่อมต่อกับบริเวณอาคาร ไม่เป็นที่ทึบ เป็นเพียง
pocket space ที่แทรกอยู่ บริเวณบันไดสามารถพักเป็นจุดที่ผู้ใช้งานสามารถเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้โดยที่ไม่ขวางทางสัญจร ตัวลักษณะอาคารที่เลือกมาศึกษานั้นจะมีการจัดวางคล้ายกับ module ที่เป็นก้อนๆไม่ได้เรียงตัวเป็นแถวทำให้ เกิดความรู้สึกว่าอาคารนั้นใหญ่ ต้นไม้สามารถแทรกเข้าไปกับอาคาร และทำงานร่วมกับอาคารอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์คือให้ Circulation ทำงานร่วมกับ pocket space เพื่อ เชื่อมต่อกับอาคารและให้ความกลมกลืนกับธรรมชาติ โดยปกติแล้วโรงเรียนรุ่งอรุณจะมีขนาดของอาคารที่ใหญ่โตแต่เมื่อมองจากภายนอกจะไม่เห็นตัวอาคารเลยเพราะมีการปลูกต้นไม้เพื่อบังตัวอาคาร แต่การที่ปลูกต้นไม้มากเพื่อบดบังสายตาจากภายนอกทำให้ผู้ใช้งานที่อยู่ในสถานที่ไม่สามารถมองไปเห็นทัศนียภาพด้านนอกได้เนื่องจากความทึบของต้นไม้ การที่ลดทอดขนาดของอาคารทำให้ไม่จำเป็นจะต้องปลูกต้นไม้เพิ่มเพื่อปิดตัวอาคาร ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน
*มีการปรับแต่งรูปเพื่อช่วยให้มองเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น

คุณค่าของงาน: เป็นคุณค่าในเชิงรักษาอัตลักษณ์ของโรงเรียนรุ่งอรุณ ที่ให้ความสำคัญกับต้นไม้และบึง เป็นโรงเรียนที่มีทัศนียภาพที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ และอาคารที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น